รูปที่ให้อธิบายค่ะ
ดูเหมือนจะง่ายเนอะ
ก็แค่ผู้ชายคนนึงพอเห็นนักท่องเที่ยวทำท่าทางจะมาถามทางก็รีบเข้าไปหลบใต้หนังสือพิมพ์คนข้างๆ
แต่พอได้ลองทำจริงขอบอกเลยค่ะ ว่า ยากมากเลยT[]T
อาจจะเป็นเพราะให้ดูภาพแล้วพูดสดทันที
เลยมีปัญหาหลายอย่างที่พบเลยคือเห็นภาพแล้วแต่นึกคำไม่ออก
เช่นพวกคำว่า สบสายตา เดินเข้ามาใกล้ๆ หรือคำว่าเข้าไปหลบหลังหนังสือพิมพ์
ที่ขำที่สุดของตัวเองก็คือจะพูดคำว่า 地図 แต่ดันพูดออกมาเป็น 水ล่ะค่ะ นี่มันไปคนละเรื่องเลยนะเนี่ย55555
พอได้มาเทียบกับที่คนญี่ปุ่นเขียน
จะเห็นได้ชัดเลยว่าข้อบกพร่องที่เยอะที่สุดคือการใช้~てเยอะเกินเหตุโดยไม่รู้ตัวค่ะ แหะๆ
ซึ่งการใช้ ~てที่่จริงควรใช้เชื่อกับสองประโยคที่มีความสัมพันธ์กัน
แต่ที่ยูกิใช้กลายเป็นเอาเหตุการณ์มาต่อๆกันแล้วใส่~てไปเลย
ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะตอนพูดตื่นเต้นด้วยเลยพเบลอจนพูดมั่วไปหมด5555
นอกจากนี้ที่พบในการเขียนของคนญี่ปุ่นเขาก็จะมีใส่พวกคำふと、とっさに、ムッとเข้ามาเสริมในการอธิบายด้วย
ซึ่งทำให้การอธิบายดูชัดเจนขึ้น
แล้วก็พวกความสงสัยในการใช้คำศัพท์ที่ไม่รู้ที่กล่าวไปตอนต้นทั้งหมด
ในที่สุดก็กระจ่างค่ะ><
สบสายตา = 目が合う、目線が合う
เดินเข้ามาใกล้ๆ = 近づいてくる、近寄ってくる、歩み寄ってくる、そばに寄ってくる
เข้าไปหลบหลังหนังสือพิมพ์ = 新聞に隠れる、新聞のかげに隠れる
*อาจจะมีคนที่สับสนอยู่หลายคน แต่ในกรณณีนี้ ต้องใช้ 隠れるไม่ใช้ 隠す
อ้อ แล้วก็ได้เจอรูปแบบการอธิบายที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้นด้วย
โดยส่วนใหญ่การอธิบายเราจะอธิบายโดยใช้มุมมองของบุคคลที่3ที่มองเห็นเหตุการณ์ทั้งหมด
แต่พอได้ดูที่คนญี่ปุ่นเขียนมาปรากฏว่ามีบางคนที่เล่าโดยการพูดแทนตัวเองเป็นตัวละครตัวหนึ่งในนั้น
และมีการใส่บทสนทนาทำให้ดูน่าสนุกยิ่งขึ้นเข้าไปด้วย
ก็คิดว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจดีค่ะ
หลังจากที่ได้มาทบทวนดูอีกรอบเลยลองแก้ที่ตัวเองพูดไปครั้งแรกดู
โดยวิธีการขโมยกลยุทธ์ของคนญี่ปุ่น เอ้ย ไม่ใช่ๆ555
โดยวิธีการศึกษาการใช้รูปประโยคของคนญี่ปุ่นแล้วนำมาปรับปรุงกับงานของตัวเองค่ะ
ก็ได้ออกมาดังนี้ แต่นแต๊นนนน~~~~!!!
ホテルのロビーで会社員の男の人がソファーに座っていました。同じソファーに新聞を読んでいるおじさんも座っていました。それから、男の人は地図を持って立っている外国人と目が合ってしまいました。すると、外国人が男の人に近寄ってきました。どうやら、彼は道に迷っていたようなので、道を尋ねるようです。面倒が起る前に男の人は「どうしよう!」という表情が表れました。とっさに男の人は隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れてしまったのです。
ไม่น่าเชื่อเนอะ แค่เปลี่ยนคำพูดนิดหน่อยจากการเล่าเรื่องบรรยายธรรมดาก็กลายเป็น เข้าใจง่าย ดูน่าสนใจขึ้นมามากกว่าเดิมได้
หรืออาจจะกลายเป็นไม่รู้เรื่องเข้าใจผิดไปเลยก็ได้เหมือนกัน555
ก็จะพยายามระวังในจุดนี้ให้มากขึ้นค่ะ
こんばんは、はじめまして。
ตอบลบこのブログを書いてから20日経っていますが、何を書いたか覚えていますか。
今回のタスクをして言葉や表現、視点などいろいろな発見があったんですね。「簡単そう!」と思うことも実際は難しいんだと知ることはとても大切なことだと思います。
はじめに話したものないので比べられませんが、いろいろ考えて新しく作った文章は間違いのないようにしっかり伝えようとしているのがわかります。それでもまだ少し気になるところがありますので、アドバイスさせてもらいますね。
① 「それから」の使い方。
「状況の説明+それから+追加の状況説明」 あるいは 「ある動作・出来事→それから→次の動作・出来事」 などですよね。
上に書いた文章では「場面の説明(状態・状況)→それから→ある出来事」なので不自然です。
② 「彼」
「彼=外国人」ですか?でも上の文では「彼=男の人?外国人?」と迷ってしまいそうです。
③ 「ようです」
「どうやら・・・ようです」はよく使う表現ですが、「ようです」は文の中で1回だけでいいかなという気がします。
④ 「起る」は「起こる」ですか「起きる」ですか。
⑤ 「『どうしよう』という表情」
まさに「目に浮かぶ描写」でとてもいいですが、表情が浮かぶ/あらわれる のは「男の人」ではなくて「男の人の顔」かな、と思います。
⑥ 接続表現
「とっさに~」のまえに接続詞をいれると、文章がもっと生き生きしたものになりますよ。
ところで、日本人は自分の経験として語る人がいるなど目のつけどころがおもしろいと書いていましたね。せっかくですから、登場人物のだれかになったバージョンでもう一度試してみてはどうでしょう。